วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พระราชอำนาจ

พระราชอำนาจและพระราชฐานะของพระมหากษัตริย์ตามระบบการปกครองประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
***เคยเขียนเรื่องพระมหากษัตริย์ไว้ 3 ตอน ตอนที่ 2 เรื่อง พระราชอำนาจและพระราชฐานะ ไว้นานแล้ว พอดีมีประเด็นการขอสภาประชาชนพระราชทานและนายกรัฐมนตรีพระราชทาาน ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้องและไม่สมควร จึงนำบทความนี้มาเผยแพร่อีกครั้ง เพื่อให้เข้าใจว่าพระมหากษัตริย์ทรงทำตามที่ร้องขอไม่ได้****
พระมหากษัตริย์ : พระราชฐานะ และพระราชอำนาจ
(ต่อจากตอนที่แล้ว)
2. พระราชอำนาจพระมหากษัตริย์
พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) มิได้มีพระราชอำนาจจำกัดเฉพาะแต่ที่บทบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น พระมหากษัตริย์ยังมีพระราชอำนาจทางธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญ (convention) ที่มีสถานะเป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรอีกด้


รูปแบบการปกครอง

การเมืองไทยปัจจุบันอยู่ในระบอบเผด็จการทหาร ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ และพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นผู้ใช้อำนาจบริหารและเป็นนายกรัฐมนตรี คสช. ออกประกาศให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาคดีอาญาบางประเภท และกรณีฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. (ประกาศที่ 37)
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งถูกเลิกไปแล้ว ประเทศไทยปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และประชาธิปไตยระบบรัฐสภา ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ซึ่งทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นประมุขแห่งรัฐ และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ส่วนฝ่ายตุลาการเป็นอิสระจากการถ่วงดุลอำนาจ ฝ่ายบริหารมีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขแห่งอำนาจ ฝ่ายนิติบัญญัติของไทยอยู่ในระบบสภาคู่ แบ่งออกเป็นวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ฝ่ายตุลาการ มีศาลเป็นองค์กร

ประชาธิปไตย



   ระบอบประชาธิปไตย ( Democracy ) หมายถึง ระบบการปกครองที่ประชาชนเป็นใหญ่ ดังนั้นการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยก็คือ รูปการปกครองที่ยึดถืออำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
          ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยนั้นจำเป็นต้องมีรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหลักหรือเป็นกติกาที่กำหนดแนวทางสำหรับการที่รัฐจะใช้อำนาจปกครองประชาชน และมีหลักการจัดระเบียบการปกครองแต่รัฐธรรมนูญก็ไม่ใช่เครื่องหมายแสดงความเป็นประชาธิปไตย เพราะประเทศที่ปกครองด้วยระบอบเสด็จการก็มีรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน การที่จะพิจารณาว่าประเทศใดเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ จึงต้องดูว่ารัฐธรรมนูญของประเทศนั้นให้ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยหรือไม่
          ลักษณะสำคัญของการปกครองแบบประชาธิปไตยสามารถพิจารณาได้จาก รัฐบาล การเลือกตั้งและการปกครองโดยเสียงข้างมาก